กว่าจะมาเป็นกลองไฟฟ้า ประวัติกลองไฟฟ้า
Date : 21/07/2023
กลองไฟฟ้ามีมาตั้งแต่สมัยกลางศตวรรษที่ 20 โดยมีการพัฒนาที่สำคัญหลายอย่างซึ่งในตอนนั้นอาจจะยังไม่สามารถเรียกกลองไฟฟ้าได้อย่างเต็มปาก แต่ในยุคนั้นก็มีความพยายามในการพัฒนาที่สำคัญหลายอย่าง

กลองไฟฟ้ามีมาตั้งแต่สมัยกลางศตวรรษที่ 20 โดยมีการพัฒนาที่สำคัญหลายอย่างซึ่งในตอนนั้นอาจจะยังไม่สามารถเรียกกลองไฟฟ้าได้อย่างเต็มปาก แต่ในยุคนั้นก็มีความพยายามในการพัฒนาที่สำคัญหลายอย่าง ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 เมื่อนักประดิษฐ์ได้ทดลองสร้างเครื่องเพอร์คัชชันอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นเครื่องให้จังหวะอิเล็กทรอนิกส์เครื่องแรก  นั่นคือเครื่อง "Rhythmicon" ที่พัฒนาโดย Leon Theremin และ Henry Cowell ในช่วงทศวรรษที่ 1930 โดยหลักการทำงานของเครื่องนี้คือการแปลงสัญญาณแสงเป็นเสียงโดยในเครื่องนั้นจะมีจานเสียงซึ่งเป็นแผ่นวงกลมและได้เจาะรูเพื่อให้แสงนั้นผ่านไปยังตัวรับสัญญาณซึ่งจะแปลงให้เกิดเสียงตามรูที่ถูกเจาะเอาไว้ สำหรับเสียงโทนและจังหวะที่เกิดขึ้น จะขึ้นอยู่กับความเร็วในการหมุนของแผ่นนั่นเอง โดยมีหลักการเดียวกับ Nipkow disk แต่ในปัจจุบันก็ถือได้ว่าเครื่อง “Rhythmicon” เป็นกลองไฟฟ้าเครื่องแรกของโลก

 

ต่อมาในช่วงปลายทศวรรษ 1940 Harry Chamberlin ได้สร้าง "Chamberlin Rhythmate" ซึ่งเป็นความพยายามในยุคแรกสำหรับเครื่องตีกลองอิเล็กทรอนิกส์หรือกลองไฟฟ้า โดยการทำงานของเครื่อง Chamberlin Rhythmate นั้นได้ใช้จานหมุนที่มีส่วนที่ยื่นออกมาซึ่งทำให้เกิดเสียงกระทบต่าง ๆ เมื่อกระทบกับหน้าสัมผัสโลหะ ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนเสียงโทน และทำนอง ได้ถึง 14 แบบด้วยกัน โดยทำการเลื่อนปรับจากด้านบนของตัวเครื่อง ซึ่งมีบอกรูปแบบของจังหวะเสียงที่เครื่องนั้นสามารถทำได้ โดยในปี 1951 Harry Chamberlin ก็ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบของการเกิดจังหวะโดยใช้เทปแม่เหล็กในการบันทึกและทำให้เกิดเสียงแทนจากหมุนแบบเดิม

 

ในปี 1959 บริษัท Wurlitzer ได้เปิดตัว "Sideman" ซึ่งถือเป็นหนึ่งในดรัมแมชชีนเครื่องแรกที่ผลิตเชิงพาณิชย์ ซึ่งใช้หลอดสุญญากาศและใช้การหมุนของตัวนำไฟฟ้าผ่านจุดที่กำหนดไว้เพื่อสร้างเสียงกลองไฟฟ้าโดยมีจังหวะที่กำหนดไว้ล่วงหน้าแล้วซึ่งสามารถสร้างเสียงกลองไฟฟ้าได้ถึง 10 รูปแบบ เพียงแค่กดปุ่มบนตัวเครื่อง และยังสามารถปรับเปลี่ยนจังหวะกลองไฟฟ้าได้ง่าย ๆ เพียงเพิ่มความเร็วของจานหมุนตัวนำไฟฟ้า นอกจากนี้ตัวเครื่องยังมีรีโมท ซึ่งอำนวยความสะดวกให้กับนักดนตรีเป็นอย่างมากในการควบคุมเพื่อสร้างจังหวะเสียงกลองไฟฟ้า

 

ในทศวรรษที่ 1970 เป็นยุคของแพดและโมดูล ซึ่งในเราก็ได้เห็นความก้าวหน้าที่สำคัญของเทคโนโลยีกลองไฟฟ้า ในปี 1971 Graeme Edge of the Moody Blues ได้ทำงานร่วมกับศาสตราจารย์ Brian Groves และ Geoff Emerick จากมหาวิทยาลัย Sussex เพื่อสร้างชุดกลองไฟฟ้าแบบปรับแต่งได้เอง และในปี 1975 Dauz ได้เปิดตัว Syndrum มันเป็นแป้นกลองไฟฟ้าที่เชื่อมต่อกับโมดูลเสียงต่าง ๆ ที่สามารถสร้างเสียงแปลก ๆ ได้มากมาย ซึ่งเจ้า Syndrum นั้นยังได้รับความนิยมจากนักดนตรีที่มีชื่อเสียงในยุคนั้น เช่น Keith Moon มือกลองของ The Who, Bill Bruford มือกลองของ Yes และ Jon Bonham มือกลองของ Led Zeppelin เป็นต้น ซึ่งชื่องของ Syndrum นั้นได้มาจากคำ 2 คำที่ผสมขึ้นมาเป็นคำใหม่คือคำว่า "Synthesizer" และ “Drum"

 

และในช่วงเดียวกันนี้ก็ยังมีกลองไฟฟ้า Simmons SDS-5 ซึ่งเป็นหนึ่งในกลองอิเล็กทรอนิกส์ที่มีอิทธิพลมากที่สุดในช่วงปลายทศวรรษ 1970 เปิดตัวในปี 1980 โดย Simmons Electronics ซึ่งมีรูปทรงของแพดเป็นที่โดนใจคนในยุคนั้นเป็นอย่างมาก โดยมีรูปทรงหกเหลี่ยมที่โดดเด่นซึ่งกลายเป็นสัญลักษณ์ในแวดวงดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้ Simmons SDS-5 เป็นกลองไฟฟ้าเครื่องแรกที่ประสบความสำเร็จในเชิงพาณิชย์และเป็นหนึ่งในชุดกลองไฟฟ้าที่ได้รับความนิยมมากที่สุดตลอดกาล และยังได้รับความนิยมจากนักดนตรีที่มีชื่อเสียงในยุคนั้น เช่น Phil Collins, Peter Gabriel, Dave Grohl และ Neil Peart

 

และในช่วงต้นทศวรรษ 1980 ก็ได้มี Roland TR-808 และ TR-909 ซึ่งเป็นกลองไฟฟ้าที่เปลี่ยนรูปแบบการกำหนดจังหวะและกำหนดเสียงได้เอง ซึ่งแตกต่างจากคู่แข่งที่จะต้องใช้จังหวะและโปรแกรมเสียงที่ตั้งไว้จากผู้ผลิต โดย Roland TR-808 และ TR-909 นั้นเป็นกลองไฟฟ้าที่ให้ผู้ใช้สามารถตั้งโปรแกรมจังหวะได้เอง ซึ่งจุดที่โดดเด่นอีกอย่างนั้นคือตัวเครื่องยังคงใช้การสั้งเคราะห์เสียงแบบ analog ซึ่งจะให้โทนเสียงที่เป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนการสังเคราะห์จากระบบ Digital แม้ว่า Roland TR-808 และ TR-909 จะไม่ใช่กลองชุด แต่เครื่องตีกลองแบบตั้งโปรแกรมได้ มีบทบาทสำคัญในการสร้างเสียงดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ มีการใช้กันอย่างแพร่หลายในแนวเพลงต่างๆ เช่น ฮิปฮอป เทคโน และเฮาส์

 

กลองชุดไฟฟ้าของ Yamaha ผู้ผลิตเครื่องดนตรีที่มีชื่อเสียง ก็เข้ามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีกลองไฟฟ้า ในปี 1986 พวกเขาเปิดตัว Yamaha RX5 ซึ่งเป็นดรัมแมชชีนที่ตั้งโปรแกรมได้ มีนิยมอย่างมากในช่วงทศวรรษ 1980 และ 1990 โดยนักดนตรีที่มีชื่อเสียงหลายคนเลือกใช้ รวมถึง Duran Duran, Depeche Mode และ New Order ซึ่งกลองไฟฟ้า Yamaha RX5 ก็ได้ถูกรู้จักในเรื่องของรูปแบบแป้นกลองที่มีหน้าตาที่แปลกซึ่งคล้ายกับหน้าปัดวิทยุนั่นเอง และต่อมาทาง Yamaha ได้พัฒนาชุดกลองไฟฟ้าอย่าง Yamaha DTX series นั่นเอง

 

ทาง Roland เองก็ได้ทำการพัฒนา Roland V-Drums ซึ่งเป็นผู้บุกเบิกด้านกลองไฟฟ้าด้วยการเปิดตัวซีรีส์ V-Drums ในปี 1990 ชุดอุปกรณ์เหล่านี้มีโมดูลเสียงขั้นสูง ซึ่งมอบประสบการณ์การเล่นที่สมจริงยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นกลองไฟฟ้าที่ใช้การสัมผัสในการตรวจจับการตีและสร้างเสียงกลอง ซึ่งทำให้ V-Drums นั้นให้ความรู้สึกในการตีหรือเล่นที่สมจริงกว่ากลองไฟฟ้าแบบอื่น ๆ

 

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เทคโนโลยีกลองอิเล็กทรอนิกส์ยังคงก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ด้วยคุณภาพเสียง ความไว และความสามารถในการเล่นที่ดีขึ้น ปัจจุบันหลายบริษัทนำเสนอชุดกลองไฟฟ้าคุณภาพสูงที่ให้ความรู้สึกและการตอบสนองของกลองไฟฟ้าได้ทัดเทียมกลองอะคูสติก

 

ในปัจจุบัน กลองไฟฟ้าถูกใช้อย่างแพร่หลายโดยมือกลอง และโปรดิวเซอร์เพลง โดยพวกเขาได้กลายเป็นส่วนสำคัญของการใช้เครื่องดนตรีสมัยใหม่ในการแสดงสด มอบความหลากหลาย ความสะดวกสบาย และความเป็นไปได้ของเสียงที่ไม่เหมือนใคร